ผมเป็นล่ามทีมเกาหลี

รูปโอมไปเที่ยวและพี่ๆรับปริญญาคับ

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ตารางเปรียบเทียบเสียงสัตว์ต่างๆในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ (Onomatopoeia)

ตารางเปรียบเทียบเสียงสัตว์ต่างๆในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ (Onomatopoeia)
เสียงนก (birds) จิ๊บ “chirp/tweet”
เสียงไก่ตัวผู้ขัน (roosters) เอ้กอี๊เอ้กเอ้ก “cock-a-doodle-doo”
เสียงไก่ (chickens) กระต๊าก “cluck”
เสียงวัว (cows) มอ “moo”
เสียงหมา (dogs) โฮ่งๆ “woof-woof/bow-wow”
เสียงลูกหมา (puppies) บ๊อกๆ “ruff-ruff”
เสียงแมว (cats) เมี๊ยว “mew/meow”
เสียงเป็ด (ducks) ก๊าบๆ “quack-quack”
เสียงผึ้ง/แมลงวัน (bees/flies) หึ่ง “buzz”
เสียงแกะ (sheep) แบ๊ะๆ “baa-baa”
เสียงม้า (horses) ฮี้ “neigh-neigh/whinny”
เสียงกา (crows) กาๆ “kaw-kaw”
เสียงหมู (pigs) อู๊ดๆ “oink-oink”
เสียงหนู (mice) จิ๊ดๆ “squeak/squeal”
เสียงกบ (frogs) อ๊บ “croak-croak”
เสียงตุ๊กแก (Tokay Geckos) ตุ๊กแก “To-keh”
เสียงหมาป่า (wolves) หอน “howl”
เสียงลิง (monkeys) เจี๊ยกๆ “gibber”

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการใช้สีไม้ระบายน้ำ

เทคนิคการใช้สีไม้ละลายน้ำมีอยู่มากมาย ขอแนะสั้นๆไว้เป็นไอเดียนะคับ
๑ ฝนสีโดยตรงลงกระดาษแล้วใช้พู่กันระบายน้ำเปล่าทับสี (เบสิกสุด)
๒ ฝนสีไม้ธรรมดาและสีไม้ละลายน้ำพร้อมกัน ดูผลลัพธ์หลังระบายน้ำทับ
๓ ฝนสีไม้ลงกระดาษอีกแผ่น แล้วละลายน้ำใช้แทนสีน้ำได้ ผสมสีได้
๔ จุ่มสีไม้ละลายน้ำในน้ำ เก็บรายละเอียดบนกระดาษแห้ง
๕ ระบายกระดาษให้เปียก แล้วใช้ดินสอสีละลายน้ำเขียนลงบนกระดาษเปียก
๖ ใช้คัทเตอร์เกลาไส้สีไม้ละลายน้ำให้เป็นผงลงกระดาษที่เปียก

หากเราจะวาดรูปให้สวย เหมือนจริง

ประการแรก
เราต้องรู้จักแสงเงา ของวัตถุคับ เพื่อจะได้ให้ภาพนั้นมีมิติ
ไม่แบนราบ

ประการที่ 2 หากเราจะวาดโครงสร้างหรือรูปทรงของวัตถุได้สวยงาม
เราก็ต้องรู้จักแนวทางของเส้นเปอร์เสปคตีฟ (เขาเรียกอย่างนี้หรือเปล่า)
เหลี่ยมมุมมอง ของสิ่งต่างๆ ใกล้ ไกล มันจะออกมาเป็นลักษณะอย่างไร
เช่นของใกล้ สายตาจะใหญ่ ไกลออกไปก็เล็กๆ ใช่ไหมคับ

ประการที่ 3 เราต้องรู้จักสีคับ สมัยเด็กๆ เราก็จะระบายสีที่มันเป็นสีราบๆ
ดอกไม้สีแดง ต้นไม้สีเขียว เงาสีดำ ใช่ไหมคะ แต่ว่าพอมันมีเวลา
มีแสง เข้ามาเกี่ยวข้อง ต้นไม้ยามเช้า อาจกลายเป็นสีหนึ่ง
ต้นไม้ยามเย็นอาจมีอีกสีหนึ่ง กลางวันเป็นสีหนึ่ง ทั้งๆ ที่เป็นต้นไม้
สีเดียวกัน อะไรประมาณนี้ สีนี่ก็ให้ความรู้สึกได้ เช่นสีเหลืองสดใส
สีแดงเร้าอารมณ์ตื่นเต้น สีม่วง สีเทา สีเข้มๆ ดูซึมเศร้าหมองหม่น
อะไรประมาณนี้

ประการที 4 อืมม อันนี้เป็นทฤษฎีของพี่นะคับ
คือ คิดว่าเวลาเราวาดภาพ เราต้องใส่ความรู้สึก ใส่จินตนาการ
ลงไปในภาพ เวลาเขาถามว่า เราจะวาดภาพอะไร ต้องการสื่ออะไร
เราก็สามารถบอกเขาได้ หรือเวลาเราเห็นภาพต่างๆ เราก็บอกได้ว่า
เรารู้สึกอย่าไรกับภาพนั้นๆ ภาพที่วาดออกมาก็เหมือนลักษณะของ
แต่ละคน นะคะ ศิลปะทำให้เรามีอารมณ์สุนทรีย์ ทำให้โลกเต็มไปด้วย
ความรู้สึกของชีวิตและจิตใจ

เทคนิคการวาดรูป






วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ความหมายของเทคโนโลยี

ความหมายของเทคโนโลยี

เทคโนโลยี (Technology) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ

Tech = Art ในภาษาอังกฤษ
Logos = A study of

ดังนั้น คำว่า เทคโนโลยี จึงหมายถึง A study of art ซึ่งได้มีผู้แปลความหมาย สรุป ได้ว่า
เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาและปฏิบัติงาน อย่างเป็นระบบ โดยสามารถนำไปใช้ในสาขาต่าง ๆ กัน และเรียกชื่อไปตามสาขาที่ใช้ เช่น

- เทคโนโลยีการเกษตร : การคิดค้นวิธีการเครื่องมือ ปัจจัยในการผลิต ทางการเกษตร
- เทคโนโลยีการคมนาคมขนส่ง : การคิดค้นเกี่ยวกับยานพาหนะ การเดินทาง การขนส่ง
- เทคโนโลยีการแพทย์ : การคิดค้นการตรวจรักษาโรค การผลิตยา และเครื่องมือทางการแพทย์
- เทคโนโลยีชีวิตประจำวัน : การประดิษฐ์เสื้อผ้า เครื่องใช้ในที่อยู่อาศัย อุปกรณ์อำนวยความสะดวก
- เทคโนโลยีการสงคราม : อาวุธนิวเคลียร์
- เทคโนโลยีการสื่อสาร : การเก็บรวบรวมการค้นหา การส่งข้อมูลทั้ง ทางโทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ คอมพิวเตอร์
- เทคโนโลยีการศึกษา : วิธีการให้ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการวิธีการให้ การศึกษาสื่อการศึกษา และครุภัณฑ์ทางการ ศึกษา

สรุปเป็นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา ก็คือ ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา การพัฒนา และการประยุกต์วัสดุ เครื่องมือ วิธีการ เพื่อนำมาใช้ในสถานการณ์การเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น
2. นักเทคโนโลยี (Technologist) คือผู้นำเอาเทคโนโลยีมาใช้
3. ช่างเทคนิค (Technician) คือผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการซ่อมเครื่องมือเพื่อให้เครื่องมือทำงานได้ดีที่สุด
มโนทัศน์ของเทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศน์ศึกษาให้กว้างขวาง ยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ หรือโสตทัศนูปกรณ์เทคโนโลยีทางการศึกษามีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจพิจารณาจากความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ ดังนี้
1.2.1 ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่า มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน เน้นเรื่องวัสดุ อุปกรณ์ มากกว่าจะคำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา

1.2.2 ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ หมายถึง การนำวิธีการทางจิตวิทยา มานุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะเน้นเรื่องเทคนิคที่เป็นวิธีการ และกระบวนการเรียนการสอนมากกว่าวัสดุ และเครื่องมือ

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

การนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น เรามักจะพบ ว่าเมื่อสถานการณ์ของการใช้เปลี่ยนแปลงไป เช่น ชั้นเรียนที่ผู้เรียนเปลี่ยนไป หรือเวลาที่ต่างกัน สิ่งเหล่านี้ มีผลต่อประสิทธิภาพของวิธีการที่ผู้สอนนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งสิ้น ในกรณีที่ใช้วิธีการนั้นต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นการใช้เทคโนโลยี แต่ในกรณีที่ประสิทธิภาพลดลง ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงวิธีการนั้น ๆ หรืออาจต้องหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ สิ่งใหม่ที่นำมาใช้หรือวิธีการที่ได้รับนำเอาการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)


นวัตกรรม = นว (ใหม่) + อัตตา (ตนเอง) + กรรม (การกระทำ)

ในการดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ มักจะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มากมายมนุษย์จึงพยายามสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา เพื่อเปลี่ยนจากสภาพที่เคยเป็นอยู่ไปสู่สภาพที่อยากเป็น นวัตกรรมจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับวงการต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมทางการแพทย์ นวัตกรรมทางการเกษตร นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม นวัตกรรมทางการบริหาร นวัตกรรมทางการประมง นวัตกรรมทางการสื่อสาร นวัตกรรมทางการศึกษา ฯลฯ เป็นต้น

ลักษณะของนวัตกรรม สิ่งที่ต้องจัดว่าเป็นนวัตกรรม ควรประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้

1. จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (Feasible ideas)
2. จะต้องสามารถนำไปใช้ได้ผลจริงจัง (practical application)
3. มีการแพร่ออกไปสู่ชุมชน (diffusion through)

พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา

ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุและวิธีการในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วย การแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ และยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย นอกจากนี้การสอนศิลปวิจักษ์ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และงานแกะสลักช่วยสอน ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุในการสอนแทนการปาฐกถาอย่างเดียว

เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น

ฟรานซิส เบคอน (ค.ศ.1561-1626) สนับสนุนวิธีใหม่ ๆ แบบ Realism คือหันมายึดวัตถุและความคิด โดยเสนอแนะว่า การเรียนการสอนนั้น ควรให้ผู้เรียนได้รู้จักสังเกต พิจารณา เหตุผลในชีวิตจริง โดยครูเป็นผู้นำให้นักเรียนคิดหาวิธีแก้ปัญหาซึ่งจะต้องอาศัยการสังเกตพิจารณานั่นเอง ไม่ใช่ครูเป็นผู้บอกเสียทุกอย่าง

โจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos Comenius ค.ศ.1592-1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจัง จนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือ "โลกในรูปภาพ" ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1685 เป็นหนังสือที่ใช้รูปภาพประกอบบทเรียน ถึง 150 ภาพ ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุประกอบการเรียนเป็นครั้งแรก

ธอร์นไดค์ (thorndike) เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรมจึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่

บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F.Skinner) เป็นผู้ใช้แนวความคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้น ๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอนได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก

สำหรับพัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยนั้น ได้มีการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในด้านการจัดตั้งหน่วยงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ตลอดจนมีการเปิดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 ที่เน้นความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั่นเอง

เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา



การพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพ ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง อุตสาหกรรม นั้น จำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายดังนี้

1.5.1 ขยายขอบเขตของทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้กว้างขวางออกไป โดยคำนึงถึง
1) คน กำหนดให้คนเป็นแหล่งทรัพยากรเรียนรู้ที่สำคัญ เช่น ครู ตำรวจ เกษตรกร
2) วัสดุเครื่องมือ ประเภทโสตทัศนูปกรณ์ รวมทั้งการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษาให้มากขึ้น
3) เทคนิคการสอน ที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
4) สถานที่ต่าง ๆ ให้สามารถเป็นแหล่งประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ไร่นา ทะเล องค์การรัฐบาล

1.5.2 เน้นการเรียนแบบเอกัตบุคคล โดยการจัดหาสื่อเพื่อสนองความต้องการ และ ความแตกต่างระหว่างบุคคล

1.5.3 การนำวิธีวิเคราะห์ระบบการศึกษา โดยใช้การปฏิบัติหรือการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมาใช้ในการเรียน
การสอน
แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาของไทย


การนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในประเทศไทย จะมีทิศทางในการใช้ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1.6.1 มีแนวโน้มในการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในลักษณะต่อไปนี้ มีการใช้สื่อการ สอนเป็นรายบุคคลมากขึ้น
เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังใช้ระบบการศึกษาทางไกลมากขึ้นในระดับที่สูงกว่าประถมศึกษา
1.6.2 การใช้สื่อการศึกษาที่ผลิตขึ้นจากท้องถิ่นอย่างเหมาะสมจะมีบทบาทสำคัญ ๆ ทั้งนี้เพราะงบประมาณที่จำกัด โดย
เฉพาะประเภทที่ยากจน
1.6.3 การจัดองค์การและการบริหารงานจะออกมาในรูปเป็นกลุ่ม เพื่อการประหยัด งบประมาณ ใช้งบประมาณให้
คุ้มค่าที่สุด และมีประสิทธิผลที่สุด
1.6.4 การวางหน้าที่ของสายงานโดยเฉพาะประเทศไทย จะมีรูปแบบที่คล้าย ๆ กัน แต่ขยาดเล็กใหญ่ตามความ
เหมาะสมของงานแต่ละแห่ง
1.6.5 การวิจัยทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาและการหานวัตกรรมทางการศึกาาที่สามารถนำมาใช้ได้จริง ๆ เริ่ม
มีมากขึ้น
1.6.6 แหล่งทรัพยากรการเรียน โดยเฉพาะบุคลากรในชุมชน เริ่มให้ความสนใจและให้ความร่วมมือกับฝ่ายการ
ศึกษามากขึ้น
1.6.7 ปัจจุบัน รัฐบาลไทยให้ความสำคัญต่อการศึกษา โดยเน้นการใช้สื่อการสอนและเทคโนโลยีเข้าช่วยแก้ปัญหา
ทั้งนี้ได้กำหนดให้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นหมวดหนึ่งใน 9 หมวดมาตรา ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2542) ซึ่งเน้นว่า
1) ส่งเสริมสนับสนุนในการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาทุกรูปแบบ
2) พัฒนาบุคลากรในด้านความรู้ ทักษะ การใช้ เทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
3) พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ และทักษะในการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและหาความรู้ด้วยตนได้ตลอดชีวิต
4) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการติดตามประเมินผล การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาว่าคุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย

การเรียนการสอน

ความหมายของระบบ
ระบบ (System) หมายถึง การรวมกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ หากสิ่งใดหรือกระบวนการใดมีการเปลี่ยนแปลง จะกระทบกระเทือนสิ่งอื่น ๆ หรือกระบวนการอื่น ๆ ไปด้วย


สรุป ได้ว่า ระบบจะต้องมี

1. องค์ประกอบ
2. องค์ประกอบจะต้องมีความสัมพันธ์กัน
3. ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ


องค์ประกอบของระบบและวิธีระบบ

ระบบโดยทั่วไป จะมีองค์ประกอบดังนี้

2.2.1 สิ่งนำเข้า (Input) ได้แก่ การกำหนดปัญหา จุดมุ่งหมายทรัพยากรที่ใช้
2.2.2 กระบวนการ (Process) ได้แก่การลงมือแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล การนำวัตถุดิบมาใช้ มาจัดกระทำอย่างเหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย
2.2.3 ผลผลิต (Output) คือผลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือสรุปการวิเคราะห์เพื่อประเมินต่อไป
2.2.4 ผลย้อนกลับ (Feedback) คือการตรวจสอบผลผลิตเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไป

ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์กันในการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อทำให้ผลที่ได้มีประสิทธิภาพการดำเนินงานลักษณะนี้เรียกว่า วิธีระบบ (System Approach) ดังแผนภาพข้างล่างนี้



แผนภาพที่ 1 แผนภาพแสดงวิธีระบบและองค์ประกอบของระบบ


วิธีระบบกับการเรียนการสอน

เป็นการนำเอารูปแบบของระบบมาใช้ในการจัดทำโครงร่าง และกรอบของการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเรียนการสอน เป็นไปอย่างมีขั้นตอนที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทำให้ผลที่ได้เกิดประสิทธิผลตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการตามแผนภาพที่แสดงให้เห็น การกำหนดระบบการสอน ข้างล่างนี้




แผนภาพที่ 2 แสดงการกำหนดระบบการสอน




รูปแบบการสอนโดยใช้รูปแบบจำลอง ASSURE

การใช้รูปแบบการสอน แบบ ASSURE เป็นวิธีระบบรูปแบบหนึ่งที่นำมาจากแนวคิดของไชน์พิชและคณะ (1993) โดยมีระบบการดำเนินงานตามลำดับขั้นดังนี้

A = ANALYZE LEARNER'S CHARACTERISTICS การวิเคราะห์ผู้เรียน ที่สำคัญได้แก่ การวิเคราะห์พฤติกรรมเบื้องต้นและความต้องการของผู้เรียน ทั้งในด้าน 1. ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา เจตคติ ระบบสังคม วัฒนธรรม 2. ข้อมูลเฉพาะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอน เช่น ประสบการณ์เดิม ทักษะ เจตคติ ความรู้พื้นฐาน และความสามารถในบทเรียนนั้นเพียงใด การวิเคราะห์จะช่วยให้ผู้สอน สามารถตัดสินใจเลือกสื่อและจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม

S = STATE LEARNING OBJECTIVES AND CONTENT
การกำหนดจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายการเรียนที่ดี ควรเป็นข้อความที่แสดงลักษณะ สำคัญ 3 ประการคือ
1. วิธีการปฏิบัติ PERFORMANCE (ทำอะไร) การเขียนจุดมุ่งหมายควรใช้คำกริยาหรือข้อความที่สังเกตพฤติกรรมได้ เช่น ให้คำจำกัดความ อธิบาย บอก หรือจำแนก เป็นต้น 2. เงื่อนไข CONDITIONS (ทำอย่างไร) การเขียนจุดมุ่งหมายการเรียน ควรกำหนดเงื่อนไขที่จำเป็นภายใต้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ การกำหนดเงื่อนไข เช่น บวกเลขในใจโดยไม่ใช้กระดาษวาด หรือ ผสมแป้งโดยใช้ช้อน เป็นต้น 3. เกณฑ์ CRITERIA (ทำได้ดีเพียงไร) มาตรฐานการปฏิบัติซึ่งควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง เช่นระดับของความสามารถในการปฏิบัติ ระดับของความรู้ที่จำเป็น เพื่อการศึกษาต่อในหน่วยการเรียนที่สูงขึ้นไป

S = SELECT, MODIFY OR DESIGN MOTHODS AND MATERIALS การกำหนดสื่อการเรียนการสอน อาจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ประการดังนี้ คือ
1) การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน 2) ดัดแปลงจากสื่อวัสดุที่มีอยู่แล้ว 3) การออกแบบสื่อใหม่

U = UTILIZE METHODS AND MATERIALS กิจกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอน พิจารณาได้ 3 ลักษณะคือ 1) การใช้สื่อประกอบการสอนของผู้สอน เช่น ประกอบคำบรรยาย และอธิบาย 2) การใช้สื่อเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน เช่น ชุดการสอน บทเรียนด้วยตนเอง 3) การใช้สื่อร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เช่น เกม สถานการณ์จำลอง และการสาธิต การมีส่วนร่วมของผู้เรียน การใช้สื่อการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมหรือได้ลงมือกระทำร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนได้มากที่สุด

R = REQUIRE LEARNER'S RESPONSE การกำหนดพฤติกรรมตอบสนองของผู้เรียน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดนั้น ผู้เรียนจะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองและมีการเสริมแรง สำหรับการพฤติกรรมการตอบสนองที่ถูกต้องอยู่เสมอ เช่น การให้สังเกตไปจนถึงการให้ทำโครงการหรือออกแบบสิ่งของต่าง ๆ การที่ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีต่อการตอบสนองของผู้เรียน จะทำให้แรงจูงใจในการเรียนและการเสริมแรงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

E = EVALUATION การประเมินผล ควรพิจารณาทั้ง 3 ด้านคือ
1) การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2) การประเมินสื่อและวิธีใช้
3) การประเมินกระบวนการเรียนการสอน




แผนภาพที่ 3 รูปแบบของ ASSURE MODEL

การออกแบบการสอน

2.5.1 ความหมายของการออกแบบ หมายถึง การนำความรู้ทางทฤษฎี มาจัด รูปแบบในการจัดดำเนินงาน หรือวางแผนระบบการเรียนการสอนและทรัพยากรการเรียน ดังนั้น การออกแบบจึงช่วยให้ได้แผนงานหรือรูปแบบการดำเนินงาน ด้วยความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงาน

2.5.2 การออกแบบการสอน เป็นการวางแผนการสอนโดยใช้วิธีระบบจุดเริ่ม ของการออกแบบการสอน ก็คือ การพิจารณาองค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบและพิจารณาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนการสอน ดังนั้น การออกแบบระบบการสอนจึงต้องพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ด้วยการตอบคำถามสำคัญ 4 ประการ ดังนี้

1. โปรแกรมการสอนนี้ จะออกแบบสำหรับใคร (คำตอบก็คือ ผู้เรียน ดังนั้น ขั้นแรกจึงต้องศึกษา คุณลักษณะของผู้เรียน)
2. ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้อะไร หรือมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง (คำตอบก็คือจุดมุ่งหมายการเรียน) 3. เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนนั้นจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไร (คำตอบก็คือต้องคิดหาวิธีสอน สื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน ฯลฯ) 4. จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ หรือเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด (คำตอบก็คือ ต้องคิดหาวิธีประเมินผลการเรียนการสอน)

ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อความหมาย


การสื่อความหมาย (Communications) หมายถึง การถ่ายทอดข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด จากผู้ส่งไปยังผู้รับ หรือจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่น ๆ ให้เกิดความรู้สึก ความเข้าใจตรงกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

การสื่อความหมายมีลักษณะเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ

3.1.1 ผู้ส่งสาร (Sender) คือผู้ที่สื่อความหมายไปยังผู้รับ
3.1.2 สาร (Message) คือ เรื่องราวข้อมูล ที่ผู้ส่งสารต้องการให้ผู้รับเกิดพฤติกรรมตามที่ต้องการ
3.1.3 สื่อหรือช่องทาง (Channel) เป็นตัวที่ทำให้เนื้อหาสาระ มีรูปร่างลักษณะที่เหมาะสมกับการไปถึงผู้รับสารได้ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน รูปภาพ ท่าทาง สัญลักษณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือ เป็นต้น
3.1.4 ผู้รับสาร (Receiver) ผู้รับสารที่ผ่านมาโดยใช้ประสาทสัมผัส ทางใดทางหนึ่งในการรับ เช่น ตามองดู หูรับฟัง เป็นต้น
กระบวนการสื่อความหมาย และอุปสรรคในการสื่อความหมาย

กระบวนการสื่อความหมาย (Communication Process) เพื่อให้การสื่อความหมายบรรลุตามวัตถุประสงค์นั้น สิ่งที่สำคัญคือ ต้องอาศัย ความรู้ ประสบการณ์ของผู้ส่งสาร และผู้รับสารที่ใกล้เคียงกัน หรือมีปัจจัยพื้นฐานร่วมกัน (Common factor) ซึ่งได้แก

- ระบบสังคม - ระดับการศึกษา
- วัฒนธรรม - อาชีพ
- ฐานะทางเศรษฐกิจ - ถิ่นที่อยู่
- เพศ/อายุ - ความปกติทางร่างกาย


ทั้งนี้ กระบวนการดังกล่าวจะประกอบด้วยองค์ประกอบเขียนเป็นรูปแบบจำลองได้ดังนี้


สื่อการสอนและประเภทของสื่อการสอน

3.3.1 ความหมายของสื่อการสอน สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี สื่อที่ใช้ในการสอนนี้ อาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น - วัตถุสิ่งของตามธรรมชาติ - ปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ - วัตถุสิ่งของที่คิดประดิษฐ์หรือสร้างขึ้นสำหรับการสอน - คำพูดท่าทาง - วัสดุ และเครื่องมือสื่อสาร - กิจกรรมหรือกระบวนการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ

3.3.2 ประเภทของสื่อการสอน ในทางเทคโนโลยีการศึกษา สามารถจำแนกประเภท ของสื่อการสอน ได้ดังนี้
1) เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware) ได้แก่ สื่อประเภทที่ใช้กลไกทาง อิเล็กทรอนิกส์ และไฟฟ้า เช่น เครื่องฉาย เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2) วัสดุ (Software) ได้แก่ สื่อประเภทที่มีลักษณะ ดังนี้ - ใช้ควบคู่กับเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น ฟิล์ม แผ่นโปร่งใส สไลด์ เทป ฯลฯ - ใช้ตามลำพังของตนเอง เช่น กระดาษ รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก หนังสือ ฯลฯ 3) วิธีการ (Techniques or Methods) ได้แก่ กระบวนการหรือกรรมวิธี ซึ่งใน บางครั้ง อาจต้องใช้วัสดุ และเครื่องมือประกอบกัน เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ได้แก่ การแสดงละคร การเชิดหุ่น การสาธิต การศึกษานอกสถานที่ การจัดนิทรรศการ การใช้คอมพิวเตอร์ ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น

จากประเภทของสื่อการสอนดังกล่าว อาจสรุปได้ในลักษณะดังนี้


แผนภาพที่ 6 ประเภทของสื่อการสอน


แบบฝึกหัด

เอ็ดการ์ เดล ได้จำแนกสื่อประเภทของสื่อการสอน โดยแบ่งตามประสบการณ์การเรียนของผู้เรียน จากรูปธรรม นามธรรม และจัดประเภทของสื่อการสอน ตามลำดับของการเกิดประสบการณ์ ในรูปสามเหลี่ยมที่เรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience) ดังนี้ (ดูส่วนขยายโดยนำเมาส์ชี้ที่ตัวหนังสือของแต่ละชั้น)


























แผนภาพที่ 7 แสดงการจัดลำดับประสบการณ์ตามกรวยประสบการณ์ของ เอดการ์เดล


หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน

การใช้สื่อการสอน เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ควรปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเลือกสื่อการเรียนการสอน มีแนวทางดังนี้
1.1 ความสัมพันธ์กับหลักสูตร/เนื้อหาวิชา โดยพิจารณาจากความสอดคล้องกับ จุดประสงค์ และผู้เรียน เหมาะกับเวลา สถานที่และน่าสนใจ 1.2 ความสัมพันธ์กับคุณภาพทางเทคนิค โดยคำนึงถึงความทันสมัยราคา ความปลอดภัย 1.3 ความสัมพันธ์กับครูผู้ใช้ โดยเน้นในเรื่อง ความรู้จัก ทักษะ การใช้ความ เข้าใจสื่อที่ใช้เป็นอย่างดี

ขั้นตอนที่ 2 ขั้นเตรียมการใช้สื่อการสอน 2.1 เตรียมครูผู้สอน 2.2 เตรียมผู้เรียน 2.3 เตรียมสถานที่ 2.4 เตรียมสื่อ

ขั้นตอนที่ 3 ขั้นแสดงสื่อการสอนในชั้นเรียน โดยดำเนินการในด้าน 3.1 ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม 3.2 ใช้ในเวลาที่เหมาะสม 3.3 สังเกตการตอบสนองของผู้เรียน

ขั้นตอนที่ 4 ขั้นติดตามผล 4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการใช้สื่อ 4.2 ผลการใช้สื่อ เพื่อปรับปรุงและพัฒนา

ประโยชน์และคุณค่าของสื่อการเรียนการสอน

สื่อการสอนมีประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนการสอน ดังนี้

3.5.1 ทำให้เนื้อหาความรู้ที่สอนมีความหมายต่อผู้เรียนมากขึ้น
3.5.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ในปริมาณที่มากขึ้นในเวลาที่กำหนด
3.5.3 เร้าความสนใจของผู้เรียน
3.5.4 เป็นเครื่องชี้แนะการตอบสนองของผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบใด
3.5.5 ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะ และกระบวนการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา
3.5.6 เอาชนะขีดจำกัดต่าง ๆ ทางกายภาพ เช่น - ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น - ทำนามธรรมให้เป็นรูปธรรม - ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวให้เร็วขึ้นหรือช้าลงได้ - ขยาย หรือย่อขนาดของสื่อให้การศึกษาได้ - นำอดีตมาศึกษาได้ - นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
3.5.7 เป็นเครื่องมือของครูในการวินิจฉัยผลการเรียนและช่วยการสอนได้

การจัดระบบการเรียนรู้

ระบบและระบบการเรียนการสอน
เมื่อมนุษย์เราประสบปัญหาต่างๆ ในการปฏิบัติงาน ก็มักจะกล่าวกันว่า ทำงานไม่มีระบบจึงทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จ หรือหน่วยงานบางแห่งประสบปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานต่างๆ ก็ต้องนำระบบเข้าไปช่วยในการแก้ปัญหา ดังนั้นจะเห็นได้ว่า " ระบบ " มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์



ความหมาย " ระบบ "

ชัยยงค์ พรหมวงศ์(2520) ได้ให้นิยามว่า ระบบ หมายถึง ผลรวมของหน่วยย่อยซึ่งทำงานเป็นอิสระต่อกัน แต่มีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อช่วยให้งานนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เปรื่อง กุมุท (2518) ระบบ หมายถึง "ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการ หรือขบวนการนั้น"

เบนาที (Banathy, 1968) ระบบ หมายถึง การรวบรวมสิ่งต่างๆ ทั้งหลายที่มนุษย์ได้ออกแบบ และสร้างขึ้น เพื่อจัดดำเนินงานให้บรรลุเป้าที่วางไว้

อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ระบบ หมายถึง ส่วนต่างๆ ที่ประกอบขึ้นโดยที่ส่วนต่างๆ ที่ประกอบขึ้นโดยส่วนต่างๆเหล่านั้น สามารถทำงานได้อย่างอิสระ แต่มีปฏิสัมพันธ์ในการดำเนินงาน เพื่อแก้ปัญหาหรือช่วยให้การทำงานนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


ดังเช่น ระบบการศึกษา อาจประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ หลายหน่วย เช่น การสอนการเรียน การบริหารงาน อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เมื่อหน่วยย่อยๆ เหล่านี้ ต่างก็ดำเนินงานตามหน้าที่ของตน เช่นการสอน ครูก็ทำหน้าที่สอน การเรียน นักเรียนก็ทำหน้าที่เรียน ศึกษาหาความรู้ งานบริหาร ผู้บริหารก็ทำหน้าที่วางแผนงาน เพื่อให้งานดำเนินไปด้วยดี รวมทั้งงานของอาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเหล่านี้ ได้มีการดำเนินงานร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์กันแล้วก็จะสามารถช่วยให้ระบบการศึกษานั้นบรรลุเป้าหมายที่วางไว้และมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหน่วยย่อยใดหน่วยย่อยหนึ่ง ไม่สามารถปฏิบัติงาน หรือปฏิบัติงานไม่สัมพันธ์กับหน่วยอื่นๆ ก็มีผลทำให้ระบบงานนั้นไม่สามารถทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบระบบ และปรับปรุงระบบย่อยๆ โดยการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ขึ้น เพื่อปรับปรุง หรือเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานนั้นๆ ซึ่งเราเรียกว่า " การจัดระบบ "

ความหมายของการจัดระบบ
การจัดระบบ เป็นการกำหนดขั้นตอนของการดำเนินงาน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงานหรือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงาน โดยการรวบรวมปัญหา รวบรวมข้อมูล วิธีการต่างๆ เพื่อนำมาแก้ปัญหา เลือกวิธีการและดำเนินงานต่างๆ ประเมินผลแล้วนำไปปรับปรุง


จากความหมายของการจัดระบบดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ในการจัดระบบนั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ คือ


Input : ข้อมูลที่ป้อนเข้าไป เป็นขั้นตอนซึ่งเป็นการ สำรวจปัญหา และความต้องการต่างๆ ของหน่วยงาน โดยรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ เป็นทรัพยากรที่จะนำมาใช้ในการพิจารณา ไตร่ตรองเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา และนำมากำหนดเป็นวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน


Process : เป็นกระบวนการที่ได้วางแผน และดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา


Output : เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินงาน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ในขั้นนี้ควรมีการตรวจสอบว่า ผลลัพธ์มีความเชื่อถือเพียงใด โดยการทดลอง หรือทดสอบดูความถูกต้อง โดยพิจารณาจากผลย้อนกลับ (Feedback) ว่าเกิดความบกพร่องขึ้นจุดใด เช่น กระบวนการไม่เหมาะสม หรือข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์นั้นไม่เพียงพอ เพื่อนำส่วนที่ยังเป็นปัญหาเหล่านี้ มาปรับปรุงแก้ไขให้ได้ผลลัพธ์ดียิ่งขึ้น

จากองค์ประกอบดังกล่าว สามารถเขียนเป็นแบบจำลองของการจัดระบบได้ดังนี้


ขั้นตอนการจัดระบบ
จากความหมายของการจัดระบบ และองค์ประกอบของระบบนั้น สามารถนำมาจัดเป็น ขั้นตอนของการจัดระบบ โดยแบ่งเป็น 4 ขั้น ดังนี้


ขั้นที่ 1 วิเคราะห์ระบบ (System Analysis) เป็นการสำรวจ แจกแจงและวิเคราะห์ปัญหา เพื่อนำข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นมากำหนดวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ลำดับต่อมาวิเคราะห์และกำหนดภาระหน้าที่ต่างๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และวิเคราะห์งานที่ต้องปฏิบัติให้เหมาะสมกับหน้าที่ โดยแบ่งเป็น 4 ประการคือ

1) วิเคราะห์แนวการปฏิบัติงาน คือ การพิจารณาแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย กำหนดแนวทางในการปฏิบัติงาน รวมถึงปัญหาอุปสรรค ข้อบกพร่องต่างๆ
2) วิเคราะห์หน้าที่ (Function Analysis) เป็นการกำหนดหน้าที่ต่างๆ โดยละเอียด เพื่อสะดวกต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างครบถ้วน
3) วิเคราะห์งาน (Task Analysis) เป็นการกำหนด แยกแยะรายละเอียดในหน้าที่
4) การวิเคราะห์วิธีการและตัวเลข (Methods and Mean Analysis) เป็นการกำหนดหลักการ หรือตัวกลางที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย

เมื่อเราวิเคราะห์ระบบแล้วก็จะได้ข้อมูลต่างๆ ที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว ที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหา และดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ขั้นที่2 สังเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการที่นำข้อมูลที่ได้ วิเคราะห์ จัดองค์การต่างๆให้มีความสัมพันธ์กัน โดยการเลือกวิธีการที่จะนำไปใช้ นิยมเขียนในรูปแบบจำลองระบบ โดยการเขียน เป็นแบบจำลอง ซึ่งสามารถเขียนได้ดังนี้

ขั้นที่ 3 สร้างแบบจำลองระบบ เป็นวิธีการที่นำเสนอระบบที่จะสะดวกต่อการนำไปใช้ นิยมเขียนแบบจำลองระบบ โดยการเขียนแบบจำลองซึ่งสามารถเขียนได้ดังนี้

แบบที่1 เขียนตามแนวนอน



แบบที่ 2 เขียนตามแนวตั้ง



แบบที่ 3 เขียนแบบแนวตั้งผสมแนวนอน



แบบที่ 4 เขียนแบบวงกลมและวงรี



แบบที่ 5 แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์



ขั้นที่ 4 ทดสอบระบบในสถานการณ์จำลอง เป็นการทดลองนำแบบจำลองระบบไปใช้ในสถานการณ์จำลองที่สร้างขึ้น หากสามารถนำไปแก้ปัญหาได้ หรือต้องการมีการปรับปรุงแล้วนำไปแก้ไขปรับปรุงส่วนที่บกพร่อง หากสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จำลองได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ระบบนั้น ก็สามารถไปใช้ในสถานการณ์จริงได้


คุณค่าของการจัดระบบ
ถ้านำระบบที่ออกแบบได้เหมาะสมมาใช้ในงานต่าง ๆ ก็จะเอื้อให้เกิดประโยชน์ต่องานนั้น ซึ่งอาจกล่าวได้ ดังนี้


1.เป็นการประกันในการดำเนินงาน โดยดำเนินงานไปตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ เช่น ด้านเวลา งบประมาณ และบุคลากร

2.ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะเป็นการช่วยลดการลงทุนที่ไม่จำเป็นซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย

3. ผู้นำระบบไปใช้สามารถพิจารณาผลย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน และสามารถปรับปรุงส่วนที่บกพร่องได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนจะสามารถตรวจสอบได้ทุกส่วนย่อยในกระบวนการและสิ่งที่ป้อน

4.สามารถนำระบบที่ได้ทดลองใช้แล้ว ไปใช้ได้ในสภาพการณ์อื่นๆ โดยพิจารณาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่จะนำไปใช้ใหม่ จะช่วยในการประหยัดเวลา และการลงทุนในการสร้างระบบใหม่ขั้นทุกครั้ง


จะเห็นได้ว่า ระบบ และการจัดการระบบ ช่วยในการแก้ปัญหาต่าง ๆที่เกิดขึ้น อีกทั้งเอื้อให้งานใดๆ ก็ตามมีประสิทธิภาพสูงขึ้น หน่วยงานต่างๆ ได้นำมาใช้พัฒนาประสิทธิภาพงาน และเช่นเดียวกับวงการศึกษาก็ได้นำวิธีระบบมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษา นักการศึกษาได้ศึกษา และออกแบบระบบการสอนต่างๆ ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

ระบบการสอน
ระบบการสอน เป็นการนำเอาวิธีระบบ หรือการจัดระบบมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลที่ป้อน (Input) กระบวนการ (Process) และมีผลผลิต (Output) เช่น ระบบการสอน จะมีองค์ประกอบย่อย ๆ อาทิ เช่น ระบบครูผู้สอน ระบบนักเรียน ระบบสื่อการสอน ระบบการเลือกและใช้สื่อการสอน หรือแหล่งการเรียนรู้ ซึ่งหน่วยย่อย ๆเหล่านี้ สามารถทำงานในหน้าที่ของตนอย่างมีอิสระ แต่หากจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงภายในหน่วยย่อยๆ ต่างๆ ก็จะส่งผลกระทบถึงหน่วยย่อยอื่นๆ ด้วย


ระบบการสอนที่มีการออกแบบโดยใช้วิธีระบบ (Systematic approach) มีการทดลองใช้อย่างกว้างขวาง มีการกำหนดขั้นตอนการสอน เช่น มีการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยอาศัยช่องทางต่างๆ หรือ การใช้แหล่งความรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อีกทั้งสามารถสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน เช่น วัย เพศ และอัตราการเรียนรู้ ความสามารถทางด้านสติปัญญา ความสนใจ ความถนัด ประสบการณ์เดิม ตลอดจนพื้นฐานทางวัฒนธรรม ซึ่งครูผู้สอนและนักเทคโนโลยีการศึกษาจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการออกแบบพัฒนาระบบการสอน พิจารณาและมีการวางแผนร่วมกันอย่างรอบคอบ โดยบูรณาการ องค์ประกอบต่างๆ ในระบบการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้ มีการประเมินผลย้อนกลับ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ให้ได้มาซึ่งระบบการสอนที่มีประสิทธิภาพดี ในทำนองเดียวกันก็เป็นหลักประกันในด้าน ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการเรียนรู้และนักการศึกษาได้ออกแบบ ระบบการเรียนการสอน ไว้ดังนี้


ระบบการสอนของโพเแฟมและเบเกอร์ (Popham and Baker, 1970)


โพแฟม และเบเกอร์ (James W. Popham, and Baker, 1970) ได้ออกแบบระบบการสอน โดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

1.กำหนดวัตถุประสงค์

2.พิจารณาพื้นฐานผู้เรียน

3.วางแผนกิจกรรมการเรียนการสอน

4.ประเมินผล
ระบบการสอนของเบราน์และคณะ (Brown and others, 1986)



ระบบการสอนของ เบราน์และคณะ (Brown and others, 1986) ถ้าพิจารณาระบบการสอนของเบราน์และคณะ จะเห็นว่าการออกแบบระบบการสอนนี้มุ่งเน้นผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียน และมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนการสอนซึ่งตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ตลอดจนความสนใจของผู้เรียน เบราน์และคณะ ได้ออกแบบการวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบนี้ เพื่อให้สามารถที่จะสรุปทบทวนได้อย่างง่าย และรวดเร็ว และเป็นแนวทางในการสอนและสามารถตรวจสอบได้ ประกอบด้วย องค์ประกอบที่สำคัญ 5 ประการ คือ ผู้เรียน เป้าหมาย สภาพการณ์ แหล่งการเรียน และผลลัพธ์ ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

เป้าหมาย (goals)
ในการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรมก็ตามจำเป็นต้องมีจุดประสงค์ จุดมุ่งหมาย ซึ่งก็จะมีจุดประสงค์ทั่วไป เช่น สอนทักษะพื้นฐานให้ผู้เรียน และจุดประสงค์เฉพาะเจาะจง เช่น ให้ผู้เรียนเรียนรู้การสะกดคำ การอ่าน และการเขียน ซึ่งจุดประสงค์ต่างๆ เหล่านี้ จะต้องนำไปเขียนเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้านดังนี้
1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เกี่ยวข้องกับ ด้านความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผล
2.ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เกี่ยวข้องกับ เจตคติ และความรู้สึกนึกคิด เช่น ความรู้สึกซาบซึ้งต่อดนตรี หรืองานศิลปะ เป็นต้น
3.ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นเรื่องเกี่ยวกับทักษะต่างๆ เช่น ทักษะการเล่นฟุตบอล ทักษะการพิมพ์ หรือทักษะการประดิษฐ์ตัวอักษร เป็นต้น

สภาพการณ์ (Conditions)
สภาพการณ์ หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนสามรถบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งยึดหลักการที่ว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดจากกระทำด้วยตนเองทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังนั้นหลักการสำคัญในการออกแบบการวางแผนการสอน คือ การคัดเลือกรูปแบบของประสบการณ์ และกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ในการนี้
อาจจัดรูปแบบต่างๆ ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับรูปแบบการเรียนของผู้เรียน เช่น อาจจัดให้ผู้เรียนศึกษาเป็น กลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ หรือรายบุคคล

แหล่งการเรียน (Resources)
แหล่งการเรียนเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญของการจัดการสอน ซึ่งรวมไปถึงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพต่างๆ ที่จะเอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์รวมถึงบุคลากร ครูผู้สอน ห้องสมุด ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ ผู้ช่วยสอนและอื่นๆ ซึ่งมีผลโดยตรงหรือทางอ้อมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี


ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผลลัพธ์ที่ได้นี้จะแสดงถึงสิ่งต่างๆ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจะมีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ แล้วนำมาเป็นข้อปรับปรุงการเรียนการสอน

สรุปได้ว่าระบบการสอนของเบราน์และคณะ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นแนวทางที่มีประโยชน์ สำหรับการเรียนการสอน ซึ่งจะนำเอาแหล่งการเรียน สื่อการสอน เครื่องมือ ตลอดจนกระบวนการในการสอนและการเรียนรู้ ซึ่งเน้นความสัมพันธ์ของสื่อการสอนกับสิ่งต่างๆ ดังนี้
1.จุดประสงค์และเนื้อหา
2.รูปแบบของประสบการณ์การเรียนรู้
3.การแบ่งกลุ่มการเรียนการสอน เป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็ก และรายบุคคล
4.บทบาทของบุคลากร
5.วัสดุและอุปกรณ์
6.สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
7.การประเมินผลและการปรับปรุงการเรียนการสอน
ถ้าพิจารณาจะเห็นว่าระบบการสอนนี้จะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งผู้เรียนจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนด้วยตนเอง ซึ่งก่อให้เกิดการเรียนรู้ ที่ดี และการนำแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ มาใช้ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียน ได้เรียนตามความสามารถ และอัตราการเรียนรู้ของตนเอง
ระบบการสอนของเกอร์ลาซและอีลี (Gerlach and Ely, 1980)


เกอร์ลาซ และ อีลี (Gerlach and Ely, 1980) ได้เสนอรูปแบบการสอนอย่างมีระบบ ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆไว้ 10 ประการคือ

1.กำหนดวัตถุประสงค์ (Specification of Objectives) ในการออกแบบระบบการสอน ตามทฤษฎีแล้วควรจะเริ่มโดยวัตถุประสงค์ว่า ผู้เรียนควรจะสามารถทำสิ่งใดได้บ้าง

2.กำหนดเนื้อหา (Specification of Content) หลังจากผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์แล้ว ขั้นนี้จะเป็นการเลือกเนื้อหา ที่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ ซึ่งผู้สอนส่วนใหญ่คิดว่าต้องสอนเนื้อหาต่างๆเท่านั้น โดยไม่ได้คำนึงถึงการสอนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์นั้นๆ วัตถุประสงค์และเนื้อหานั้นจะต้องมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกัน ดังนั้นบางครั้งผู้สอนอาจเริ่มจากเนื้อหาก่อนวัตถุประสงค์ก็ได้

3. พิจารณาพื้นฐานเดิมของผู้เรียน (Assessment of Entering Behaviors) ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนจำเป็นจะต้องทราบความรู้พื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ผู้เรียนมีมาก่อนเริ่มเรียนเพื่อที่ผู้สอนจะสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาพิจารณาก่อนที่จะวางแผนการสอนโดยการวิเคราะห์ ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual differences) ในด้านต่าง ซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลได้จาก
1.บันทึกข้อมูลต่างๆ (Use of Available Records) ระเบียนสะสม ซึ่งจะบันทึกผลการเรียนด้านต่างๆ เช่น สติปัญญา การใช้เหตุผล และภาษา ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับบุคลิกภาพ สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาเป็นช่วยชี้นำอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการวางแผนการสอน
2. แบบทดสอบที่ผู้ทดสอนสร้างขึ้น (Teacher - Designed Pretest) เพื่อทดสอบดูว่าผู้เรียนได้เรียนรู้ นิยาม มโนมติ ทักษะต่างๆในเรื่องที่จะสอนนี้มาแล้วหรือยังกระบวนการนี้เป็นประโยชน์ทั้งด้านการตรวจสอบก่อนการเรียน ผู้สอนจะได้ทราบความสามารถของผู้เรียน (Learners' abilities) ความถนัด (Aptitudes) จะเป็นข้อมูล เพื่อใช้ในการแนะนำผู้เรียน อีกทั้งยังใช้ในการวางแผนในการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ในอนาคต

4.เลือกยุทธศาสตร์และเทคนิคการสอน (Determination of Strategy and Techniques) ยุทธศาสตร์ คือวิธีการที่ครูใช้ในการให้ข้อมูลในการเลือกแหล่งการเรียนรู้ และระบุบทบาทของเรียน รวมถึงการปฏิบัติเฉพาะ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. การบรรยาย (Expository Approach) จะเป็นวิธีการสอนแบบดั้งเดิมที่จะเน้นครูเป็นผู้นำเสนอข้อมูลต่างๆ ที่มักจะใช้ตำรา วัสดุ โสตทัศนวัสดุ และประสบการณ์ของผู้สอน เช่น การบรรยาย อภิปราย การใช้ภาพยนตร์
2. วิธีการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Approach) วิธีการนี้บทบาทของครูจะเป็นผู้อำนวยการในการจัดประสบการณ์ โดยการตั้งคำถาม สร้างเงื่อนไขให้ผู้เรียนได้เสาะแสวงหาคำตอบในการแก้ปัญหาโดยใช้ ข้อมูล ตำรา หนังสือ วัสดุ ผู้เรียนจะต้องพยายาม รวบรวม (Organize) จัดระบบข้อมูล ความรู้ต่างๆ โดยผู้เรียนจะต้องทำกิจกรรมด้วยตัวเอง (Active participations) ในที่สุดจะได้เป็นข้อสรุป ที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการดำเนินการเรียนการสอนได้ อาจใช้ทั้งวิธีการบรรยาย และการสืบเสาะหาความรู้ควบคู่กันไปก็ได้

5.จัดกลุ่มผู้เรียน (Oganization of Students into Groups) ในการจัดการเรียนการสอนนั้น เมื่อตั้งวัตถุประสงค์ เลือกเนื้อหา ตรวจสอบพื้นฐานเดิมแล้ว ควรจะพิจารณาถึง วัตถุที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุนั้น โดยการเรียนร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก หรือโดยการบรรยายเป็นกลุ่มใหญ่ หรือเป็นรายบุคคล ระหว่างครูและกลุ่มผู้เรียนเท่านั้น ควรจะพิจารณา วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการเรียน และการจัดกลุ่มผู้เรียนไปพร้อมกัน

6.กำหนดเวลาเรียน (Allocation of Time) ในการเลือกยุทธวิธี เทคนิค่างๆนั้นจะมีผลต่อการกำหนดเวลาที่จะเรียน เช่น เนื้อหาวิชา วัตถุประสงค์ สถานที่ที่จะเรียน รูปแบบการบริหาร ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน สิ่งเหล่านี้จะนำมาใช้ในการพิจารณาเลือก และกำหนดเวลาเรียนที่เหมาะสม

7.กำหนดสถานที่เรียน (Allocate of Learning Space) ในการจัดสถานที่เรียนนั้น จะขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่มผู้เรียน วิธีการสอน ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
1. ห้องสำหรับกลุ่มใหญ่ เรียนได้ครั้งละ 30-50 คน
2. ห้องขนาดเล็ก ใช้สำหรับการเรียนการสอนกลุ่มย่อย หรือการอภิปราย
3. ห้องเรียนแบบรายบุคคล อาจเป็นศูนย์สื่อที่จัดไว้สำหรับเรียนเป็นรายบุคคล

8.การกำหนดแหล่งการเรียนรู้ (Allocation of Resources) หลังจากที่ผู้สอน ได้กำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการสอน ขนาดของกลุ่มผู้เรียนแล้ว ผู้สอนจะต้อง เลือกแหล่งการเรียน หรือสื่อการสอน เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งได้แก่ ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว โทรทัศน์ ของจริง สื่อบุคคล หุ่นจำลอง สถานการณ์จำลอง และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น

9.ประเมินผล (Evaluation of Performance) เป็นการประเมินผลพฤติกรรม ของผู้เรียน อันเกิดจากปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือ ผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับสื่อการสอน การประเมินผลเป็นส่วนสุดท้ายในการวางแผนรูปแบบการสอนที่ยึดวัตถุประสงค์เป็นหลัก

10. วิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ (Analysis of Feedback) หลังจากที่ได้ประเมินผลการเรียนการสอนแล้วจะทำให้ทราบว่า การเรียนการสอนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ มากน้อยเพียงใด หากมีข้อบกพร่องก็สามารถวิเคราะห์ผลแล้วย้อนกลับมาเพื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยต่างๆ ตั้งแต่เริ่มกระบวนการเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขระบบการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และควรวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับให้รวดเร็วที่สุด มิใช่เพียงเฉพาะผู้สอนเท่านั้นแต่รวมถึงผู้เรียน ซึ่งได้มีผลการวิจัยเสนอไว้ว่าการให้ผลย้อนกลับที่ล่าช้าจะมีผลทำให้การเรียนรู้ลดน้อยลงดังเช่น บทเรียนโปรแกรมเป็นการประยุกต์เรื่องการนำผลย้อนกลับมาใช้ได้ดี

วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2551

การแสดงความรัก

จูบที่ จมูก หมายถึง คุณน่ารักมาก
จูบที่ แก้ม หมายถึง ฉันต้องการเธอ
จูบที่ คอ หมายถึง เธอต้องเป็นของฉัน (คืนนี้เสร็จแน่)
จูบที่ ริมฝีปาก หมายถึง ฉันรักเธอ
จูบที่ เปลือกตา หมายถึง ฉันกำลังหลงรักเธอ
เอาแหวนของคุณไปใส่ หมายถึง เธอต้องเป็นของฉันคนเดียว ตลอดไป
ให้ของขวัญคุณเป็นประจำ หมายถึง เค้าเอาใจใส่ และคิดถึงคุณตลอดเวลา
จับมือ หมายถึง ฉันชอบเธอ
มองเข้าไปในตาของคุณ หมายถึง เธอรักฉันหรือเปล่า
บีบนิ้วของคุณ หมายถึง ฉันอยากจะจูบเธอ
ลูบไล้เบา ๆ ที่หัวไหล่ หมายถึง อยากจะเอาใจเธอ
กัดริมฝีปาก หมายถึง ฉันหึงนะ
ขยิบตาให้ หมายถึง ขอฉันไปกับเธอนะ
เล่นผมของคุณ หมายถึง ฉันชื่นชมเธอ
เหยียบเท้าคุณ หมายถึง ฉันเกลียดเธอ
พูดว่า "คิดถึงคุณ" หมายถึง ฉันใส่ใจเธอเสมอ
พูดว่า "คืนนี้ จะฝันถึงคุณ" หมายถึง คุณเป็นคนพิเศษ
พูดว่า "อยากจะอยู่กับคุณตลอดเวลา" หมายถึง คิดถึงคุณทุกลมหายใจ
แอบหอมคุณ หมายถึง เค้าคนนั้นเป็นคนที่สวีทสุดๆ

ท้าย

ท้าย